วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

รูปแบบการสอน

รูปแบบการสอน

1.กลุ่มพฤติกรรมนิยม

   1.1 วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา



   1.2 วิธีสอนแบบโครงงาน


   1.3 วิธีสอนแบบแสดงบทบาท


   1.4 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย


   1.5 การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย


   1.6 วิธีการสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง



2.กลุ่มปัญญานิยม

   2.1 การสอนแบบความคิดรวบยอด


   2.2 การสอนแบบสืบสวนสอบสวน


   2.3 การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์


   2.4 การสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน


   2.5 การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน



3.กลุ่มมนุษยนิยม
 
   3.1 วิธีสอนแบบอภิปราย


   3.2 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน


   3.3 วิธีสอนแบบหน่วย


   3.4 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์


   3.5 การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ


   3.6 วิธีสอนแบบทีม

การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียน

ทฤษฎีพัฒนาการ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของ กีเซล
1                ต้องรอให้เด็กเกิดความพร้อมก่อนแล้วเข้าโรงเรียน
2                พัฒนาการเกิดขึ้นมาจากแรงขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
3                พฤติกรรมทุกอย่างจะเป็นค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติเมื่อถึงวัย เด็กจะมีพฤติกรรมได้เอง ไม่ต้องฝึกฝน ไม่ต้องเตรียม
4                พ่อแม่ควรปล่อยให้เด็กทำอะไรอย่างอิสระตามความสามารถ ไม่ควรเร่งหรือบังคับ

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของ โรเบิร์ต เจต์
ระดับอนุบาล
1                มีความคิดรวบยอดง่ายๆ
2                เรียนรุ้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ
3                เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูก
ระดับประถมศึกษา
1                เรียนรุ้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกายในการเล่น
2                สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3                เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4                เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5                พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน
6                พัฒนาความคิดรวบยอดที่จะเป็นต่อชีวิตประจำวัน
7                บพัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
8                สามารถพึ่งพาตนเองได้พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
ระดับมัธยมศึกษา
1                สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวการทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ
2                แสดงบทบาททางสังคมที่เหมาะสมกับเพศของตน
3                ยอมรัยสภาพร่างกายตนเอง
4                รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้
5                มีความมั่นใจในการใช้จ่าย
6                มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว
7                เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองที่ดี
8                มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ
9                มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม

การปะยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ของเพียเจต์
           ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
เด็กที่อยู่ในช่วงปลายปี ป.1 หรือ ป.2 จะมี concept เด็กในช่วงนี้สามารถคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งจะต่างกับวัยอนุบาล
           ระดับระถมปลาย
เด็กในวัยนี้จะคิดถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นและสามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ สิ่งสำคัญที่ครูควรคำนึงคือ ใช่วงวัยนี้ครูอาจต้องทำงานอยู่กับเด็กสองช่วงวัย ที่มีลักษณะแตกต่างกันในเด็กคนเดียวกัน ดังนั้นวิธีที่ดีคือ การเปิดโอกาสให้เด็กอธิบายเกี่ยวกับความคิดนั้นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งจะทำให้ครูเข้าใจความคิดต่างๆของเด็กได้
           ระดับมัธยมศึกษา
สามารถคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ทุกเรื่องและสามารถตั้งสมมติฐานได้ ที่สำคัญของเด็กวัยนี้ คือ การที่เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าความเป็นจริง เด็กจะให้ความสำคัญกับความคิดของตน และคิดว่าคนอื่นๆ ก็คิดเช่นเดียวกันกับตน ด้วยเหตุนี้ในวัยนี้ กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อเด็กมาก เมื่อเด็กอยู่ในช่วงปลายๆ วัยรุ่นลักษณะเช่นนี้จะหายไป เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าคนอื่นๆก็จะคำนึงถึงตนเองและปัญหาของตนเองมากกว่า

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของฟลอยด์
1.ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
2.ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง 6 ปีแรก
3.ไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมก็เข้าโรงเรียนได้โดยครุเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อมเอง
4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดต่างๆ ได้แล้ว แต่เป็นสิ่งที่ครูจะต้อง
5.คิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน

 การประยุกต์ใช้ในขั้นเรียนของอิริสัน
ระดับอนุบาล
   การส่งเสริมให้เกิด Autonomy ในระดับอนุบาลควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ อย่างอิสระ ไม่เข้ายุ่งเกี่ยวมากนัก แต่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำอยู่ห่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกดคลางแคลงในความสามารถของตน เพราะถ้าครูไม่คอยดุแล เด็กอาจจะทำในสิ่งที่เกินความ สามารถ เกินกำลังของตน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยในความสามารถซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือความไม่มั่นใจในตนเอง
    เมื่อพิจารณาถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยโดยทั่วๆไป จะเห็นว่าผู้ใหญ่มักไม่ใคร่ปล่อยให้เด็กทำอะไรด้วยตนเอง มักจะทำให้ทุกอย่าง ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ แม้แต่เรื่องการช่วยเหลือตนเองในการกินข้าวเป็นปัญหามากเรื่องหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ก็ได้แต่กลุ้มใจ เฝ้าแต่หาวิธีการต่างๆ เช่น ดุบ้าง ขู่บ้าง ชมบ้าง ก็ไม่ใคร่จะได้ผล
 การกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่ม Initiative ในช่วง 4-5 ปี เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาความคิดริเริ่ม และถ้าเด็กมีความมั่นใจในตนเอง เพราะสามารถช่วยเหลือตนเองและทำอะไรได้ด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิด รู้จักวางแผนที่จะดำเนินงานต่างๆต่อไป ดังนั้น ถ้าครูหวังจะให้เด็กเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม ก็พยายามกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวก็ต่อเมื่อเด็กทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น  ควรมีการจัดกิจกรรมที่ระบบ ให้มีลักษณะที่เด็กจะสามมารถช่วยเหลือตนเอง เพื่อนำตนเองได้ โดยให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการของเด็กเอง มิใช่ผู้ใหญ่คอยจัดการให้หมดทุกอย่าง และเนื่องจากในช่วงระยะเวลานี้เป็นระยะเวลาของการพัฒนาการภาษาพูด เด็กควรจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและกำลังใจจากผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่คอยเอ็ดหรือคอยตัดบทด้วยความรำคาญ จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึก ไม่กล้าซักถาม ซึ่งเป็นสิ่งที่บั่นทอนความอยากรู้อยากเห็น และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เด็กจะเกิดความรู้สึกผิดในการที่จะคิดทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ท้ายที่สุดก็จะได้เด็กซึ่งไม่ใคร่กล้าซักถามแสดงคิดเห็น
 ระดับประถมต้นและประถมปลาย
  การส่งเสริมให้เกิด Indostry  เด็กวัยนี้อาจจะพัฒนาความรู้สึกต่ำต้อยความรู้สึกกว่าตนเองสู้เพื่อนๆไม่ได้โดยง่าย ถ้าครูไม่ทราบวิธีที่จะช่วยเหลือ สิ่งสำคัญที่จะต้องระวังสำหรับเด็กวัยนี้ คอ พยายามหลีกเลี่ยงการให้งานทำชนิดที่มีการแข่งขัน การเปรียบเทียบระดับความสามารถ เพราะถ้างานประเภทนี้จะมีเด็กเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ  แต่เด็กส่วนใหญ่จำไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกต่ำต้อย ความรู้สึกสู้เพื่อนไม่ได้ตั้งเริ่มเข้าเรียนซึ่งเด็กมีแนวโน้มคิดว่า ตัวเองเป็นเช่นนั้นตลอดไป เพราะเด็กเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนั้นโดยที่พยายามจัดประสบการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานแข่งกับตนเอง ในขณะเดียวกันให้ทุกๆคนมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
  ระดับมัธยมศึกษา
   การส่งเสริมให้เกิด Identity นั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องพิจารณา คือ เป็นการสมควรหรือไม่ถ้าจะสอนบทบาททางเพศทีเหมาะสมให้กับเด็ก ตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้นประถม เพื่อให้เด็กสามารถแสวงหาบทบาททางเพศ (sexual identity) ขอตนเองได้ การที่ตัดสินว่าบทบาทที่เหมาะสม ของแต่ละเพศมีลักษณะเช่นไรนั้น เป็นของยาก เพราะเรามักจะเอาลักษณะที่คนทั่วๆไป คิดว่าควรเป็นของ แต่ละเพศเข้ามาปนด้วย เช่น เพศชายจะต้องมีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นคนหาเงินหรือเป็นผู้มีอำนาจ ส่วนเพศหญิงจะมีลักษณะเป็นแม่บ้าน เป็นผู้อำนวยความสุขให้กับคนในบ้าน หรือเป็นผู้คอยรับใช้ ดังนั้นในการพิจารณาบทบาทที่เหมาะสมของเพศชายเป็นอย่างไร เพศหญิงเป็นอย่างไรโดยที่อย่าให้เกิดความรู้สึกต่ำต้อยกับบทบาทางเพศของตน พยายามให้เด็กเห็นว่า ทั้งเพศหญิงและเพศชายล้วนแต่มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่างๆได้เหมือนๆกัน


การประยุกต์ใช้ ของบรูนเนอร์
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1                ให้ตระหนักถึงกสรจัดวัสดุอุปรกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยสร้างภาพในใจ
2                เน้นความสำคัญของผู้เรียน ได้คิดค้นกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
3                ทำให้เข้าใจความคิดของเด็ก
4                บรูเนอร์ฒีความเห็นว่านาการจัดการเรียนการสอนนั้น ต้องคำนึงถึงทฤษฎีความรู้ความเข้าใจและทฤษฎีการเรียนการสอน
ระดับอนุบาลและระดับประถมตอนต้น
     ควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีทีทำงานแต่ละครั้งเสร็จ ควรมีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่างๆเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ
ระดับประถมปลาย
     มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของเปียเจต์ แต่ต่างกันตรงที่ พัฒนาการทางสติปัญญาจะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกตัวเลือกจากหลายๆตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้นๆ
ระดับมัธยมศึกษา
     การใช้สัญลักษณ์ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูทีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นให้ใช้ Discovery approach โดยเน้นความเข้าใจใน Concept และเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของโคลเบิร์ค

            ห้องเรียนทุกห้องจำเป็นต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่นักเรียนทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน ถ้าครูอธิบายเหตุผลของการมีกฎเกณฑ์และพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนกฎเกณฑ์ของห้อง แทนการปฏิบิติตามระเบียบข้บังคับของทางโรงเรียน เพราะเกรงว่าจะถูกทำโทษหรือประพฤติดี เพราะต้องการรางวัล จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนใช้เหตุผลในจริยธรรมในขั้นสูง นอกจากนี้ครูจะช่วยพัฒนาทางจริยธรรมของนักเรียนได้ ถ้าครูมีความสัมพันธ์กับนักเรียน ชี้แจงเหตุผลเวลาทำโทษ จะช่วยให้นักเรียนมีสติ มีความรับผิดชอบ ควบคุมความประพฤติของตอนเอง (Sef-Control)


ทฤษฎีการเรียนรู้

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของพาฟลอฟ
1.ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งทางด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
2.ครูใช้หลักการเรียนรู้ทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึก เจตคติที่ดีในตัวผู้เรียนต่อเนื้อหาวิชา ตัวครูผู้สอน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทางการเรียน โดยการจัดบรรยากาศทางการเรียนการสอนมิให้เครียดเกินไป ให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน ไม่พบแต่ความล้มเหลวบ่อยครั้ง
3.ครูควรตระหนักเอาไว้ว่า เป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้สึกอารมณ์กลัวความวิตกกังวล ในตัวผู้เรียนได้
4.ครูควรป้องกันมิให้นักเรียนพบแต่ความล้มเหลว เนื่องจากความล้มเหลวนี้สัมพันธ์กับความรู้สึกวิตกกังวล เมื่อเกิดความวิตกกังวลแล้ว จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่ำลง หรือเกิดการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ

การประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคในชั้นเรียน
            ในชั้นเรียนหนึ่งๆ เด็กมักได้รับการวางเงื่อนไขอยู่เสมอ เช่น  เมื่อถึงชั่วโมงคณิตศาสตร์ (cs) เมื่อใด ก็ถูกครูดุหรือลงโทษทุกครั้ง (usc)         ในที่สุดเด็กคนนั้นก็จะเกลียดวิชาคณิตศาสตร์ (cr)  ตรงกันข้ามกับวิชาวิทยาศาสตร์ (cs) ที่ครูสร้างบรรยากาศในห้องเรียนดี (ucs) (เด็กมีอิสระในการคิด ในการทดลอง และสรุปผล ก่อนหมดชั่วโมงทุกครั้งเด็กจะภูมิใจผลที่เขาพบจากการทดลอง) เมื่อไรที่เรียนวิชานี้ เขาก็รู้สึกสนุกกับการค้นคว้าทดลอง สุดท้ายเด็กจะรู้สึกว่าเขาชอบวิชานี้เป็นพิเศษ (cr)

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของธอร์นไดด์
1.ธอร์นไดด์ในฐานะนักจิตวิทยาการศึกษา เขาได้ให้ความสนใจในปัญหาการปรับปรุงการเรียนของนักเรียนในโรงเรียน เข้าเน้นว่า นักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งที่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา ความสนใจนี้จะเป็นแรงจูงใจให้ตั้งใจเรียน
            การสอนในชั้นเรียน ครูควรจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยๆ และเรียงลำดับการสอนจากง่ายไปยากเสมอ และสิ่งที่สอนในชั้นเรียนควรจะสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันนอกชั้นเรียนด้วย เพื่อนักเรียนจะเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการเรียนในชั้นเรียนไปสู่สังคมภายนอกได้
2.ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่จะเรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเรียน และไม่ตกอยู่ในภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอนหรือป่วย
3.ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทบทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลาอันเหมาะสม แต่อย่าให้นักเรียนทำซ้ำซากจนเบื่อหน่าย จะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้เลย
4.ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึงพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจอีกทั้งเกิดเจตคติที่ดีต่อไป ครูควรให้รางวัลหรือการชมเชยเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ดีที่ถูกต้องออกมา

การระยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของสกินเนอร์ 
1.ระวังการคุมชั้นเรียนโดยวิธีลงโทษ จากการทดลอง Shock หนูด้วยไฟฟ้า จะเห็นว่าหนูเรียนได้เร็วและลืมเร็ว และกลัวสิ่งแวดล้อมนั้น ดังนั้นถ้าลงโทษอย่างรุนแรง พูดจาถากถางจะทำให้เกิดผลเช่นเดียวกัน คือ ลืมเร็วและกลัว และเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียน
2.ให้การเสริมแรงเท่าที่จะทำได้ พยายามให้ทันที่นักเรียนตอบถูก ในการถามคำถามควรถามในสิ่งที่คิดว้าเด็กจะตอบได้ บางครั้งอาจให้การเสริมแรงเป็นระยะๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากเด็กหลังการให้แบบฝึกหัดหรือการสอบ ควรให้เด็กได้รับรู้คำตอบทันทีด้วยการนำมาเฉลยและอภิปราย
3.ถ้านักเรียนเกิดการเรียนรู้ชนิด generalize ที่ผิด ให้ใช้ selective reinforcement เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ชนิด discrimination เช่น ให้เด็กเขียน ถ แต่เด็กเขียน  ภ ให้เด็กรู้แต่เพียงว่าผิดและให้เขียนใหม่ โดยแนะนำให้สังเกตที่ต่างกันและเมื่อเขียนได้ถูกต้องให้คำชมเชยอย่างทันท่วงที
4.จัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่จะสอนเข้าเป็นหน่อยย่อยๆโดยเรียงตามความยากง่ายเพื่อให้โอกาสเด็กตอบถูกมากที่สุด จะได้เป็นกำลังใจในการเรียน
5.บทเรียนสำเร็จรูปจะมีคุณค่ามากสำหรับเด็กที่เรียนช้า เรียนอ่อน  เด็กที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ หรือเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง
6.การนำการปรับพฤติกรรมมาใช้ในชั้นเรียน ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแนะนำว่า การที่แสดงความสนใจกับพฤติกรรมที่ได้ดีของเด็กเป็นการเสริมแรงให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นยิ่งขึ้น และเด็กจะหยุดทำเหลวไหล ถ้าเราไม่ให้ความสนใจ แต่ทั้งนี้มิได้รวมถึงการที่เด็กทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน  หรือตลอดจนการเล่นเกเรแกล้งเพื่อนแรงๆ จนได้รับบาดเจ็บ

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนเกสตัลท์
1.กะบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่  เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากวัยผู้ใหญ่ ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่า เด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่
2.เน้นความสำคัญของผู้เรียน ถือว่า ผู้เรียนสามมารถจะควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้ และเป็นผู้ที่จะริเริ่มลงมือกระทำ ฉะนั้นผู้ที่อบรมมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยให้โอกาสผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่เรียนคุ้นเคยหรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช่แผนที่ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของออซูเบล
1.ครูให้สาระหลักที่ใช้เป็นสื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่และเก่าให้เข้ากัน
ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้เช่น
1.1    วิธีการเตรียมเนื้อหาสาระหลักของเนื้อหาที่ต้องการสอน ทำได้โดยการเขียนแผนผังความคิดรวบยอดทั้งหมด
1.2    ครูแสดงแผนผังความคิดรวบยอดนั้นให้นักเรียนดูด้วย
2.ครูเสนอเนื้อหาใหม่
ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น
2.1 กระต้นให้นักเรียนตั้งใจรับฟัง
2.2เสนอสาระอย่างกระจ่างและเป็นระบบให้นักเรียนเชื่อมโยงเห็นความเป็นเหตุเป็นผลกันของข้อมูลตามแผนผังความคิดรวบยอดที่นำมาเสนอไว้ โดยเริ่มจากหัวข้อใหญ่ก่อนตามด้วยหัวข้อย่อยๆที่กระจายออกไป
3.ครูให้นักเรียนผสมผสานความรู้
3.1กระต้นให้นักเรียนแสดงการบูรณาการ
            3.1.1 ให้นักเรียนกล่าวข้อความแสดงภาพรวมของเรื่องนั้นอย่างกว้างๆ
            3.1.2ให้นักเรียนสรุปลักษณะสำคัญของเนื้อเรื่อง
            3.1.3ให้นักเรียนย้ำคำนิยามให้ถูกต้อง
            3.1.4 ให้นักเรียนบอกความแตกต่างของแง่มุมในสาระนั้น
            3.1.5ให้นักเรียนบรรยายว่าเนื้อหาสาระที่ครูให้นั้นสนับสนุนความคิดรวบยอดในตอนต้นอย่างไร
3.2กระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนรู้
            3.2.1ให้นักรียนบรรยายว่าเนื้อหาใหม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาเก่าอย่างไร
            3.2.2ให้นักเรียนยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน
            3.2.3ให้นักเรียนกล่าวถึงสาระสำคัญของเนื้อเรื่องที่เรียนโดยใช้คำพูดของตนเอง
            3.2.4ให้นักเรียนตรวจสอบเนื้อหาจากประเด็นอื่นๆ
3.3กระต้นให้นักเรียนแสดงความกระจ่างของเรื่องที่เรียนรู้
            3.3.1ให้นักเรียนอธิบายเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนใหม่กับความคิดรวบยอดที่ครูให้ไว้ในตอนต้น

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของบันดูรา
1.บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2.แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆตัวอย่างซึ่งอาจจะเป็นบุคคล การ์ตูน ภาพยนตร์ วีดีโอ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3.ให้คำอธิบายควบคู่กับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4.ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน เช่น แนะให้สนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ
5.จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบได้หรือไม่ ถ้านักเรียนทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีสอน หรืออาจจะแก้ที่ตัวผู้เรียน
6.ให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง เพื่อจะให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวแบบแก่นักเรียนคนอื่นต่อไป