วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

ฟรอยด์

แนวความคิดตามทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ 



ซิกมัน   ฟรอยด์  (Sigmund   Freud ) เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา   ฟรอยด์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพไว้ดังต่อไปนี้1.1  โครงสร้างของบุคลิกภาพ   (Structure   of    Personality)    ตามแนวความคิดของฟรอยด์นั้นเชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์แบ่งได้เป็น  3  ส่วน  
(1)  อิด  (Id)   เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่มีมาตั้งแต่กำเนิดโดยอยู่ในจิตไร้สำนึก    อิดจะประกอบไปด้วยสัญชาตญาณในการดำรงชีวิตซึ่งได้แก่       สัญชาตญาณทางเพศ    แรงผลักดัน    ทางชีววิทยา   เช่น  ความหิว   ควมากระหาย   และสัญชาตญาณแห่งความตาย       การทำงานของอิดจะเป็นไปตามหลักของความพอใจ   (Pleasure  Principle)     โดยเป็นการเสาะแสวงหาความสุขความสบาย
(2)   อีโก้   (Ego)   เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่มีลักษณะของความมีเหตุผลอยู่ในหลักความเป็นจริง   หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของอีโก้ก็คือตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจให้กับอิด   แต่เป็นการทำงานภายใต้หลักความเป็นจริง
(3)  ซูปเปอร์อีโก้  (Superego)     เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่พัฒนาเมื่อเด็กอายุ  5  หรือ 6  ขวบ ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่    ซูเปอร์อีโก้จะอยู่ในจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก  ประกอบด้วย   2 ส่วน  คือ
            3.1    มโนธรรม   (Concience)   เป็นส่วนของความละอายและเกรงกลัวต่อการทำผิด
            3.2    อุดมคติแห่งตน  (Ego - Ideal)   เป็นส่วนของความคาดหวังในสิ่งที่ดีงาม
            การทำงานของโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนั้นจะมีความสัมพันธ์กันและผสมผสานกันการทำงานของอิด  อีโก้  และซูปเปอร์อีโก้  ที่เป็นไปอย่างสมดุลกัน  กล่าวคือ    อิดกันซูปเปอร์อีโก้จะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่าง    ส่วนอีโก้ทำหน้าที่ประสานการทำงานของระบบทั้งหมด     อิดแสวงหาความสุขความพอใจให้แก่ตนเองซูปเปอร์อีโก้เป็นผู้ค่อยควบคุมให้การเกิดกระทำในสิ่งที่ดี  
1.2   ขั้นพัฒนาการของบุคลิกภาพ      ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์ตามวัย  ได้  5 ระยะ  ดังนี้
 (1)   ขั้นปาก  (  Oral  Stage)   ช่วงอายุแรกเกิด – 12   หรือ   18   ความสุขและความพึงพอใจของเด็กจะอยู่ที่ปากเช่น การดูดนม การสัมผัสด้วยปาก หากเด็กได้รับการตอบสนองเต็มที่ เด็กก็จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม หากตรงกันข้ามเด็กจะเกิดการชะงักถดถอย (Fixation)และมาแสดงพฤติกรรมในช่วงนี้อีกในวัยผู้ใหญ่ เช่น ชอบนินทาว่าร้าย สูบบุหรี่ กินจุบ-กินจิบ เป็นต้น
(2)  ขั้นทวารหนัก   (Anal   Stage)   ช่วงอายุตั้งแต่  1 หรือ 1ขวบครึ่ง    -3   ขวบ   ความสุขและความพึงพอใจของเด็กจะอยู่ที่ทวารหนัก   หากเด็กได้รับการลงโทษและฝึกหัดด้วยวิธีรุนแรงจะทําให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่พอใจและเก็บ
ความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ที่จิตไร้สํานึก และจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา กล่าวคือ เป็นคนขี้เหนียว เจ้าระเบียบ ชอบทําร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด อาจเป็นสาเหตุของโรคประสาทชนิด ยํ้าคิดยํ้าทํา
()ขั้นเพศ (Phallic Stage) อายุ 3-6 ขวบ หมายถึง ความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนมาสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ มักถามว่าตนเกิดมาจากไหน ฯลฯ ในขั้นนี้เด็กจะรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนและลักษณะเช่นนี้ทําให้เด็กเลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่ที่เป็นต้นแบบ หากพ่อแม่ปฏิบัติตามบทบาทที่ดีเหมาะสมเป็นตัวแบบที่ดี เด็กก็จะเลียนแบบและพัฒนาบทบาททางเพศของตนได้อย่างดี  ในระยะนี้มีปรากฏการณ์ที่สําคัญ คือ ปมออดิปุส (Oedipus complex) เป็นปรากฏการณ์ที่เด็กชายมีความรู้สึกทางเพศ รักและผูกพันแต่แม่ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกเกียจพ่อซึ่งเป็นผู้มาแย่งความรักจากแม่ไป ส่วนเด็กหญิงก็ทํานองเดียวกัน เด็กหญิงจะมีความรู้สึกทางเพศ รักและผูกพันกับพ่อ ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกเกียจแม่ซึ่งเป็ นผู้มาแย่งความรักจากพ่อไป
(4) ระยะความต้องการแฝง (Latency Stage) อายุ 7-14 ปี เป็นวัยเข้าโรงเรียน วัยนี้ดูภายนอกค่อนข้างเงียบสงบ หลังจากผ่านระยะ Oedipus complex มาแล้ว ความรู้สึกพอใจทางเพศจะถูกเก็บกดเอาไว้ เด็กจะเริ่มออกจากบ้านไปสังคมภายนอก เช่น สังคมในโรงเรียน เด็กจะมีกิจกรรมใหม่ๆที่เพิ่มขึ้น
(5)  ระยะขั้นวัยรุ่น (Genital Stage)อายุ 13-18 ขวบ หมายถึง เด็กหญิงจะเริ่มมีความสนใจเด็กชายและเด็กชายก็เริ่มมีความสนใจเด็กหญิงเป็ นระยะที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริงการอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมผิดปกติ
1.การเสียสมดุลของ Id, Ego and Super Ego
 - Ego ไม่สามารถปรับสภาพให้เกิดความพอดีระหว่างความต้องการตามสัญชาตญาณ (Id) และการถูกตําหนิโดย
มโนธรรม (Super Ego) ได้ จึงเกิดความขัดแย้งในจิตใจ บุคคลจึงใช้กลไกป้ องกันทางจิตเป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหา
หากกลไกป้องกันทางจิตถูกนํามาใช้อย่างไม่เหมาะสมก็อาจก็อาจทําให้เกิดพยาธิภาพในจิตใจได้
   2.การไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม
 - ทําให้เด็กเกิดความขัดแย้ง เด็กจะใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการขจัดความขัดแย้งทําให้พลังในการปฏิบัติกิจกรรม
หลักในขั้นต่อไปเหลือน้อยลง พัฒนาการทางจิตใจหยุดชะงัก (Fixation) ที่จุดนั้น
 - เมื่อบุคคลเกิดปัญหาเมื่อเวลาต่อมา ก็มีแนวโน้มที่จะใช้กลไกป้องกันทางจิตที่เคยหยุดชะงักอีก ทําให้การแสดงออกของพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัยและสภาพสังคม


แบบทดสอบทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์

1. จิตไร้สำนึก คืออะไร
     ก. ความปรารถนา                          ข. ความพึงพอใจ
     ค. แรงจูงใจ                                    ง. ความต้องการ

2. โครงสร้างของบุคลิกภาพข้อใดที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึกเป็นส่วนใหญ่
     ก. อิด(id)                                       ข. อีโก้(Ego)
     ค. ซูเปอร์อีโก้(superego)               ง. ถูกทุกข้อ

3. Superego เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศิลธรรม จรรยา ข้อใดต่อไปนี้เป็น superego
     ก. การรักษาขนบธรรมเนียม
     ข. การรับค่านิยมจากพ่อและแม่
     ค. การรักษาประเพณีวัฒนธรรม
     ง. การรับค่านิยมจากบรรพบุรุษ

4. ความรู้สึกพึงพอใจของวัยรุ่น จัดอยู่ในขั้นใดของขั้นพัฒนาบุคลิกภาพของฟรอยด์
     ก. ขั้นทวาร                                  ข. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น
     ค. ขั้นแฝง                                    ง. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย

5. เด็กที่ชอบเอาแต่ใจตัวเอง จัดอยู่ในกลไกในการป้องกันตัว ข้อใด
     ก. การเก็บกด
     ข. การถดถอย
     ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง
     ง. การแยกตัว

6. เด็กที่ถูกพ่อแม่บีบบังคับมากจนเกินไป จะทำให้เด็กเกิดกลไกในการป้องกันตัว ข้อใด
     ก. การเก็บกด
     ข. การถดถอย
     ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง
     ง. การแยกตัว

7. ถ้าแม่รักลูกอีกคนมากกว่า จะแสดงอาการที่แตกต่างกัน จัดอยู่ในกลไกการป้องกันตัว ข้อใด
     ก. การเก็บกด
     ข. การถดถอย
     ค. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง
     ง. การแยกตัว

8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดพฤติกรรมแสดงออกมาให้เห็น
     ก. อิด(id)                                 ข. อีโก้(Ego)
     ค. ซูเปอร์อีโก้(superego)         ง. ถูกทุกข้อ
9. ขั้นปาก ของขั้นพัฒนาบุคลิกภาพของฟรอยด์จัดอยู่ในช่วงวัยใดต่อไปนี้
      ก. แรกเกิด                              ข. อนุบาล
      ค. ประถมศึกษา                      ง. มัธยมตอนต้น
10. ขั้นแฝง ของขั้นพัฒนาบุคลิกภาพของฟรอยด์จัดอยู่ในช่วงวัยใดต่อไปนี้
      ก. แรกเกิด                              ข. อนุบาล
      ค. ประถมศึกษา                      ง. มัธยมตอนต้น

เฉลยแบบทดสอบทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์
      1. ก              2. ก            
      3. ข              4. ง   
      5. ข              6. ก  
      7. ค              8. ข   
      9. ก            10.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น