วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียน

ทฤษฎีพัฒนาการ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของ กีเซล
1                ต้องรอให้เด็กเกิดความพร้อมก่อนแล้วเข้าโรงเรียน
2                พัฒนาการเกิดขึ้นมาจากแรงขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
3                พฤติกรรมทุกอย่างจะเป็นค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติเมื่อถึงวัย เด็กจะมีพฤติกรรมได้เอง ไม่ต้องฝึกฝน ไม่ต้องเตรียม
4                พ่อแม่ควรปล่อยให้เด็กทำอะไรอย่างอิสระตามความสามารถ ไม่ควรเร่งหรือบังคับ

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของ โรเบิร์ต เจต์
ระดับอนุบาล
1                มีความคิดรวบยอดง่ายๆ
2                เรียนรุ้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ
3                เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูก
ระดับประถมศึกษา
1                เรียนรุ้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกายในการเล่น
2                สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3                เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4                เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5                พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน
6                พัฒนาความคิดรวบยอดที่จะเป็นต่อชีวิตประจำวัน
7                บพัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
8                สามารถพึ่งพาตนเองได้พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
ระดับมัธยมศึกษา
1                สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวการทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ
2                แสดงบทบาททางสังคมที่เหมาะสมกับเพศของตน
3                ยอมรัยสภาพร่างกายตนเอง
4                รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้
5                มีความมั่นใจในการใช้จ่าย
6                มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว
7                เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองที่ดี
8                มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ
9                มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม

การปะยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ของเพียเจต์
           ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
เด็กที่อยู่ในช่วงปลายปี ป.1 หรือ ป.2 จะมี concept เด็กในช่วงนี้สามารถคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งจะต่างกับวัยอนุบาล
           ระดับระถมปลาย
เด็กในวัยนี้จะคิดถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นและสามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ สิ่งสำคัญที่ครูควรคำนึงคือ ใช่วงวัยนี้ครูอาจต้องทำงานอยู่กับเด็กสองช่วงวัย ที่มีลักษณะแตกต่างกันในเด็กคนเดียวกัน ดังนั้นวิธีที่ดีคือ การเปิดโอกาสให้เด็กอธิบายเกี่ยวกับความคิดนั้นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งจะทำให้ครูเข้าใจความคิดต่างๆของเด็กได้
           ระดับมัธยมศึกษา
สามารถคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ทุกเรื่องและสามารถตั้งสมมติฐานได้ ที่สำคัญของเด็กวัยนี้ คือ การที่เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าความเป็นจริง เด็กจะให้ความสำคัญกับความคิดของตน และคิดว่าคนอื่นๆ ก็คิดเช่นเดียวกันกับตน ด้วยเหตุนี้ในวัยนี้ กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อเด็กมาก เมื่อเด็กอยู่ในช่วงปลายๆ วัยรุ่นลักษณะเช่นนี้จะหายไป เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าคนอื่นๆก็จะคำนึงถึงตนเองและปัญหาของตนเองมากกว่า

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของฟลอยด์
1.ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
2.ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง 6 ปีแรก
3.ไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมก็เข้าโรงเรียนได้โดยครุเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อมเอง
4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดต่างๆ ได้แล้ว แต่เป็นสิ่งที่ครูจะต้อง
5.คิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน

 การประยุกต์ใช้ในขั้นเรียนของอิริสัน
ระดับอนุบาล
   การส่งเสริมให้เกิด Autonomy ในระดับอนุบาลควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ อย่างอิสระ ไม่เข้ายุ่งเกี่ยวมากนัก แต่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำอยู่ห่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกดคลางแคลงในความสามารถของตน เพราะถ้าครูไม่คอยดุแล เด็กอาจจะทำในสิ่งที่เกินความ สามารถ เกินกำลังของตน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยในความสามารถซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือความไม่มั่นใจในตนเอง
    เมื่อพิจารณาถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยโดยทั่วๆไป จะเห็นว่าผู้ใหญ่มักไม่ใคร่ปล่อยให้เด็กทำอะไรด้วยตนเอง มักจะทำให้ทุกอย่าง ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ แม้แต่เรื่องการช่วยเหลือตนเองในการกินข้าวเป็นปัญหามากเรื่องหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ก็ได้แต่กลุ้มใจ เฝ้าแต่หาวิธีการต่างๆ เช่น ดุบ้าง ขู่บ้าง ชมบ้าง ก็ไม่ใคร่จะได้ผล
 การกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่ม Initiative ในช่วง 4-5 ปี เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาความคิดริเริ่ม และถ้าเด็กมีความมั่นใจในตนเอง เพราะสามารถช่วยเหลือตนเองและทำอะไรได้ด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิด รู้จักวางแผนที่จะดำเนินงานต่างๆต่อไป ดังนั้น ถ้าครูหวังจะให้เด็กเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม ก็พยายามกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวก็ต่อเมื่อเด็กทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น  ควรมีการจัดกิจกรรมที่ระบบ ให้มีลักษณะที่เด็กจะสามมารถช่วยเหลือตนเอง เพื่อนำตนเองได้ โดยให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการของเด็กเอง มิใช่ผู้ใหญ่คอยจัดการให้หมดทุกอย่าง และเนื่องจากในช่วงระยะเวลานี้เป็นระยะเวลาของการพัฒนาการภาษาพูด เด็กควรจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและกำลังใจจากผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่คอยเอ็ดหรือคอยตัดบทด้วยความรำคาญ จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึก ไม่กล้าซักถาม ซึ่งเป็นสิ่งที่บั่นทอนความอยากรู้อยากเห็น และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เด็กจะเกิดความรู้สึกผิดในการที่จะคิดทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ท้ายที่สุดก็จะได้เด็กซึ่งไม่ใคร่กล้าซักถามแสดงคิดเห็น
 ระดับประถมต้นและประถมปลาย
  การส่งเสริมให้เกิด Indostry  เด็กวัยนี้อาจจะพัฒนาความรู้สึกต่ำต้อยความรู้สึกกว่าตนเองสู้เพื่อนๆไม่ได้โดยง่าย ถ้าครูไม่ทราบวิธีที่จะช่วยเหลือ สิ่งสำคัญที่จะต้องระวังสำหรับเด็กวัยนี้ คอ พยายามหลีกเลี่ยงการให้งานทำชนิดที่มีการแข่งขัน การเปรียบเทียบระดับความสามารถ เพราะถ้างานประเภทนี้จะมีเด็กเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ  แต่เด็กส่วนใหญ่จำไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกต่ำต้อย ความรู้สึกสู้เพื่อนไม่ได้ตั้งเริ่มเข้าเรียนซึ่งเด็กมีแนวโน้มคิดว่า ตัวเองเป็นเช่นนั้นตลอดไป เพราะเด็กเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนั้นโดยที่พยายามจัดประสบการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานแข่งกับตนเอง ในขณะเดียวกันให้ทุกๆคนมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
  ระดับมัธยมศึกษา
   การส่งเสริมให้เกิด Identity นั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องพิจารณา คือ เป็นการสมควรหรือไม่ถ้าจะสอนบทบาททางเพศทีเหมาะสมให้กับเด็ก ตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้นประถม เพื่อให้เด็กสามารถแสวงหาบทบาททางเพศ (sexual identity) ขอตนเองได้ การที่ตัดสินว่าบทบาทที่เหมาะสม ของแต่ละเพศมีลักษณะเช่นไรนั้น เป็นของยาก เพราะเรามักจะเอาลักษณะที่คนทั่วๆไป คิดว่าควรเป็นของ แต่ละเพศเข้ามาปนด้วย เช่น เพศชายจะต้องมีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นคนหาเงินหรือเป็นผู้มีอำนาจ ส่วนเพศหญิงจะมีลักษณะเป็นแม่บ้าน เป็นผู้อำนวยความสุขให้กับคนในบ้าน หรือเป็นผู้คอยรับใช้ ดังนั้นในการพิจารณาบทบาทที่เหมาะสมของเพศชายเป็นอย่างไร เพศหญิงเป็นอย่างไรโดยที่อย่าให้เกิดความรู้สึกต่ำต้อยกับบทบาทางเพศของตน พยายามให้เด็กเห็นว่า ทั้งเพศหญิงและเพศชายล้วนแต่มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่างๆได้เหมือนๆกัน


การประยุกต์ใช้ ของบรูนเนอร์
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1                ให้ตระหนักถึงกสรจัดวัสดุอุปรกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยสร้างภาพในใจ
2                เน้นความสำคัญของผู้เรียน ได้คิดค้นกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
3                ทำให้เข้าใจความคิดของเด็ก
4                บรูเนอร์ฒีความเห็นว่านาการจัดการเรียนการสอนนั้น ต้องคำนึงถึงทฤษฎีความรู้ความเข้าใจและทฤษฎีการเรียนการสอน
ระดับอนุบาลและระดับประถมตอนต้น
     ควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีทีทำงานแต่ละครั้งเสร็จ ควรมีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่างๆเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ
ระดับประถมปลาย
     มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของเปียเจต์ แต่ต่างกันตรงที่ พัฒนาการทางสติปัญญาจะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกตัวเลือกจากหลายๆตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้นๆ
ระดับมัธยมศึกษา
     การใช้สัญลักษณ์ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูทีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นให้ใช้ Discovery approach โดยเน้นความเข้าใจใน Concept และเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของโคลเบิร์ค

            ห้องเรียนทุกห้องจำเป็นต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่นักเรียนทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน ถ้าครูอธิบายเหตุผลของการมีกฎเกณฑ์และพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนกฎเกณฑ์ของห้อง แทนการปฏิบิติตามระเบียบข้บังคับของทางโรงเรียน เพราะเกรงว่าจะถูกทำโทษหรือประพฤติดี เพราะต้องการรางวัล จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนใช้เหตุผลในจริยธรรมในขั้นสูง นอกจากนี้ครูจะช่วยพัฒนาทางจริยธรรมของนักเรียนได้ ถ้าครูมีความสัมพันธ์กับนักเรียน ชี้แจงเหตุผลเวลาทำโทษ จะช่วยให้นักเรียนมีสติ มีความรับผิดชอบ ควบคุมความประพฤติของตอนเอง (Sef-Control)


ทฤษฎีการเรียนรู้

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของพาฟลอฟ
1.ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งทางด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
2.ครูใช้หลักการเรียนรู้ทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึก เจตคติที่ดีในตัวผู้เรียนต่อเนื้อหาวิชา ตัวครูผู้สอน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทางการเรียน โดยการจัดบรรยากาศทางการเรียนการสอนมิให้เครียดเกินไป ให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน ไม่พบแต่ความล้มเหลวบ่อยครั้ง
3.ครูควรตระหนักเอาไว้ว่า เป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้สึกอารมณ์กลัวความวิตกกังวล ในตัวผู้เรียนได้
4.ครูควรป้องกันมิให้นักเรียนพบแต่ความล้มเหลว เนื่องจากความล้มเหลวนี้สัมพันธ์กับความรู้สึกวิตกกังวล เมื่อเกิดความวิตกกังวลแล้ว จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่ำลง หรือเกิดการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ

การประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคในชั้นเรียน
            ในชั้นเรียนหนึ่งๆ เด็กมักได้รับการวางเงื่อนไขอยู่เสมอ เช่น  เมื่อถึงชั่วโมงคณิตศาสตร์ (cs) เมื่อใด ก็ถูกครูดุหรือลงโทษทุกครั้ง (usc)         ในที่สุดเด็กคนนั้นก็จะเกลียดวิชาคณิตศาสตร์ (cr)  ตรงกันข้ามกับวิชาวิทยาศาสตร์ (cs) ที่ครูสร้างบรรยากาศในห้องเรียนดี (ucs) (เด็กมีอิสระในการคิด ในการทดลอง และสรุปผล ก่อนหมดชั่วโมงทุกครั้งเด็กจะภูมิใจผลที่เขาพบจากการทดลอง) เมื่อไรที่เรียนวิชานี้ เขาก็รู้สึกสนุกกับการค้นคว้าทดลอง สุดท้ายเด็กจะรู้สึกว่าเขาชอบวิชานี้เป็นพิเศษ (cr)

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของธอร์นไดด์
1.ธอร์นไดด์ในฐานะนักจิตวิทยาการศึกษา เขาได้ให้ความสนใจในปัญหาการปรับปรุงการเรียนของนักเรียนในโรงเรียน เข้าเน้นว่า นักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งที่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา ความสนใจนี้จะเป็นแรงจูงใจให้ตั้งใจเรียน
            การสอนในชั้นเรียน ครูควรจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยๆ และเรียงลำดับการสอนจากง่ายไปยากเสมอ และสิ่งที่สอนในชั้นเรียนควรจะสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันนอกชั้นเรียนด้วย เพื่อนักเรียนจะเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการเรียนในชั้นเรียนไปสู่สังคมภายนอกได้
2.ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่จะเรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเรียน และไม่ตกอยู่ในภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอนหรือป่วย
3.ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทบทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลาอันเหมาะสม แต่อย่าให้นักเรียนทำซ้ำซากจนเบื่อหน่าย จะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้เลย
4.ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึงพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจอีกทั้งเกิดเจตคติที่ดีต่อไป ครูควรให้รางวัลหรือการชมเชยเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ดีที่ถูกต้องออกมา

การระยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของสกินเนอร์ 
1.ระวังการคุมชั้นเรียนโดยวิธีลงโทษ จากการทดลอง Shock หนูด้วยไฟฟ้า จะเห็นว่าหนูเรียนได้เร็วและลืมเร็ว และกลัวสิ่งแวดล้อมนั้น ดังนั้นถ้าลงโทษอย่างรุนแรง พูดจาถากถางจะทำให้เกิดผลเช่นเดียวกัน คือ ลืมเร็วและกลัว และเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียน
2.ให้การเสริมแรงเท่าที่จะทำได้ พยายามให้ทันที่นักเรียนตอบถูก ในการถามคำถามควรถามในสิ่งที่คิดว้าเด็กจะตอบได้ บางครั้งอาจให้การเสริมแรงเป็นระยะๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากเด็กหลังการให้แบบฝึกหัดหรือการสอบ ควรให้เด็กได้รับรู้คำตอบทันทีด้วยการนำมาเฉลยและอภิปราย
3.ถ้านักเรียนเกิดการเรียนรู้ชนิด generalize ที่ผิด ให้ใช้ selective reinforcement เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ชนิด discrimination เช่น ให้เด็กเขียน ถ แต่เด็กเขียน  ภ ให้เด็กรู้แต่เพียงว่าผิดและให้เขียนใหม่ โดยแนะนำให้สังเกตที่ต่างกันและเมื่อเขียนได้ถูกต้องให้คำชมเชยอย่างทันท่วงที
4.จัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่จะสอนเข้าเป็นหน่อยย่อยๆโดยเรียงตามความยากง่ายเพื่อให้โอกาสเด็กตอบถูกมากที่สุด จะได้เป็นกำลังใจในการเรียน
5.บทเรียนสำเร็จรูปจะมีคุณค่ามากสำหรับเด็กที่เรียนช้า เรียนอ่อน  เด็กที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ หรือเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง
6.การนำการปรับพฤติกรรมมาใช้ในชั้นเรียน ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแนะนำว่า การที่แสดงความสนใจกับพฤติกรรมที่ได้ดีของเด็กเป็นการเสริมแรงให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นยิ่งขึ้น และเด็กจะหยุดทำเหลวไหล ถ้าเราไม่ให้ความสนใจ แต่ทั้งนี้มิได้รวมถึงการที่เด็กทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน  หรือตลอดจนการเล่นเกเรแกล้งเพื่อนแรงๆ จนได้รับบาดเจ็บ

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนเกสตัลท์
1.กะบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่  เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากวัยผู้ใหญ่ ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่า เด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่
2.เน้นความสำคัญของผู้เรียน ถือว่า ผู้เรียนสามมารถจะควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้ และเป็นผู้ที่จะริเริ่มลงมือกระทำ ฉะนั้นผู้ที่อบรมมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยให้โอกาสผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่เรียนคุ้นเคยหรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช่แผนที่ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของออซูเบล
1.ครูให้สาระหลักที่ใช้เป็นสื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่และเก่าให้เข้ากัน
ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้เช่น
1.1    วิธีการเตรียมเนื้อหาสาระหลักของเนื้อหาที่ต้องการสอน ทำได้โดยการเขียนแผนผังความคิดรวบยอดทั้งหมด
1.2    ครูแสดงแผนผังความคิดรวบยอดนั้นให้นักเรียนดูด้วย
2.ครูเสนอเนื้อหาใหม่
ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น
2.1 กระต้นให้นักเรียนตั้งใจรับฟัง
2.2เสนอสาระอย่างกระจ่างและเป็นระบบให้นักเรียนเชื่อมโยงเห็นความเป็นเหตุเป็นผลกันของข้อมูลตามแผนผังความคิดรวบยอดที่นำมาเสนอไว้ โดยเริ่มจากหัวข้อใหญ่ก่อนตามด้วยหัวข้อย่อยๆที่กระจายออกไป
3.ครูให้นักเรียนผสมผสานความรู้
3.1กระต้นให้นักเรียนแสดงการบูรณาการ
            3.1.1 ให้นักเรียนกล่าวข้อความแสดงภาพรวมของเรื่องนั้นอย่างกว้างๆ
            3.1.2ให้นักเรียนสรุปลักษณะสำคัญของเนื้อเรื่อง
            3.1.3ให้นักเรียนย้ำคำนิยามให้ถูกต้อง
            3.1.4 ให้นักเรียนบอกความแตกต่างของแง่มุมในสาระนั้น
            3.1.5ให้นักเรียนบรรยายว่าเนื้อหาสาระที่ครูให้นั้นสนับสนุนความคิดรวบยอดในตอนต้นอย่างไร
3.2กระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนรู้
            3.2.1ให้นักรียนบรรยายว่าเนื้อหาใหม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาเก่าอย่างไร
            3.2.2ให้นักเรียนยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน
            3.2.3ให้นักเรียนกล่าวถึงสาระสำคัญของเนื้อเรื่องที่เรียนโดยใช้คำพูดของตนเอง
            3.2.4ให้นักเรียนตรวจสอบเนื้อหาจากประเด็นอื่นๆ
3.3กระต้นให้นักเรียนแสดงความกระจ่างของเรื่องที่เรียนรู้
            3.3.1ให้นักเรียนอธิบายเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนใหม่กับความคิดรวบยอดที่ครูให้ไว้ในตอนต้น

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของบันดูรา
1.บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2.แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆตัวอย่างซึ่งอาจจะเป็นบุคคล การ์ตูน ภาพยนตร์ วีดีโอ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3.ให้คำอธิบายควบคู่กับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4.ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน เช่น แนะให้สนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ
5.จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบได้หรือไม่ ถ้านักเรียนทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีสอน หรืออาจจะแก้ที่ตัวผู้เรียน
6.ให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง เพื่อจะให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวแบบแก่นักเรียนคนอื่นต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น