วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

ธอร์นไดด์

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธอร์นไดค์
            
 ธอร์นไดค์  (Thorndike)  ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยง  (Bond)  ระหว่างสิ่งเร้า  และการตอบสนอง  ละได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ธอร์นไดค์ได้  ทำการทดลองพบว่า  การเรียนรู้ของอินทรีย์ ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก    ( Trial and Error )  ซึ่ง ต่อมา  เขานิยมเรียกว่า  การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง  การทดลองของธอร์นไดค์ ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ  การเอาแมวหิวใส่ในกรง  ข้างนอกกรงมีอาหารทิ้งไว้ให้  แมวเห็น  ในกรงมีเชือกซึ่งปลายข้างหนึ่งผูกกับบานประตูไว้  ส่วนปลายอีกข้างหนึ่ง  เมื่อถูกดึงจะทำให้ประตูเปิด  ธอร์นไดค์ ได้สังเกตเห็นว่า ในระยะแรก ๆ  แมวจะวิ่งไปวิ่งมา  ข่วนโน่นกัดนี่  เผอิญไปถูกเชือกทำให้ประตูเปิด  แมวออกไปกินอาหารได้ เมื่อจับแมวใส่กรง  ครั้งต่อไปแมวจะดึงเชือกได้เร็วขึ้น  จนกระทั่งในที่สุดแมวสามารถดึงเชือกได้ในทันที
ธอร์นไดค์ได้สรุปว่า  การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้  ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง  (Connection)  ระหว่างสิ่งเร้า  (Stimuli)  และการตอบสนอง   ( Responses )  การ เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก  มีใจความที่สำคัญว่า  เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า  อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี  จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ  มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยมีหลักเกณฑ์  และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้  คือ
1.  มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
2.  อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3.  ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป
  4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป  จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอา  กิริยาตอบสนอง  ที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า  ( Interaction )  นั้นมากระทบอีก
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่องโยงของ ธอร์นไดด์ มีดังนี้
1) ลักษณะการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Eror)
2) กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์
ธอร์นไดด์ ได้เห็นกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎด้วยกันคือ กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) และกฎแห่งพอใจ (Low of Effect)
ก. กฎแห่งความพร้อม กฎข้อนี้มีใจความสรุปว่า
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
- เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแต่เขาต้องทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
ข. กฎแห่งการฝึกหัด แบ่งเป็น 2 กฎย่อย คือ
- กฎแห่งการได้ใช้ (Law of Use) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งขึ้นเมื่อได้ทำบ่อย ๆ
- กฎแห่งการไม่ได้ใช้ (Law of Disuse) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองจะอ่อนกำลังลง เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมีการขาดตอนหรือ ไม่ได้ทำบ่อย ๆ
ค. กฎแห่งความพอใจ
กฎข้อนี้นับว่าเป็นกฎที่สำคัญและได้รับความสนใจจาก ธอร์นไดด์ มากที่สุด กฎนี้มีใจความว่า พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลัง ย่อมขึ้นอยู่กับผลต่อเนื่องหลังจากที่ได้ตอบสนองไปแล้วรางวัล จะมีผลให้พันธะสิ่งเร้าและการตอบสนองเข้มแข็งขึ้น ส่วนการทำโทษนั้นจะไม่มีผลใด ๆ ต่อความเข้มแข็งหรือการอ่อนกำลังของพันธะระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
นอกจากกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ ๆ ทั้ง 3 กฎ นี้แล้วธอร์นไดด์ ยังได้ตั้งกฎการเรียนรู้ย่อย อีก 5 กฎ คือ
1. การตอบสนองมากรูป (Law of multiple response)
2. การตั้งจุดมุ่งหมาย (Law of Set or Attitude)
3. การเลือกการตอบสนอง (Law of Partial Activity)
4. การนำความรู้เดิมไปใช้แก้ปัญหาใหม่ (Law of Assimilation or Analogy)
5. การย้ายความสัมพันธ์ (Law of Set or Associative Shifting)
ง. การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมในสถานการณ์หนึ่งส่งผลต่อการ เรียนรู้หรือกิจกรรมในอีกสถานการณ์หนึ่ง การส่งผลนั้นอาจจะอยู่ในรูปของการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้สามารถเรียนได้ดี ขึ้น (การถ่ายโอนทางบวก) หรืออาจเป็นการขัดขวางทำให้เรียนรู้หรือประกอบกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งได้ยาก หรือช้าลง (การถ่ายโอนทางลบ) ก็ได้ การถ่ายโอนการเรียนรู้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน
จ. ประโยชน์และการนำหลักการทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดด์ ไปใช้ในการเรียนการสอน
ธอร์นไดด์ มักเน้นอยู่เสมอว่าการสอนในชั้นเรียนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน การตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก็หมายถึงการตั้งจุดมุ่งหมายที่สังเกตการตอบ สนองได้และครูจะต้อง จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ให้เขาเรียนทีละหน่วย เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดความรู้สึกพอใจในผลที่เขาเรียนในแต่ละหน่วยนั้น ธอร์นไดด์ ย้ำว่าการสอนแต่ละหน่วยก็ต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากเสมอ
การสร้างแรงจูงใจนับว่าสำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความพอใจเมื่อเขา ได้รับสิ่งที่ต้องการหรือรางวัล รางวัลจึงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียน นั่นก็คือในขั้นแรกครูจึงต้องสร้างแรงจูงใจภายนอกให้กับผู้เรียน ครูจะต้องให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำหรือผลการเรียน เพราะการรู้ผลจะทำให้ผู้เรียนทราบว่าการกระทำนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี พอใจหรือไม่พอใจ ถ้าการกระทำนั้นผิดหรือไม่เป็นที่พอใจเขาก็จะได้รับการ แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่เขาพอใจต่อไป
นอกจากนี้ในการเรียนการสอน ครูจะต้องสอนในสิ่งที่คล้ายกับโลกแห่งความจริงที่เขาจะออกไปเผชิญให้มากที่ สุด เพื่อที่นักเรียนจะได้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการเรียนในชั้นเรียนไป สู่สังคมภายนอกได้อย่างดี


แบบทดสอบทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike)
1.น้องตุ๊กได้คะแนนวิชาภาษาไทยสูงเพราะน้องตุ๊กชอบคุณครูวิชาภาษาไทย น้องตุ๊กจัดอยู่ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก. กฎการฝึกหัด
ข. กฎความพอใจ
ค. กฎความพร้อม
ง. กฎการได้ใช้
2.น้องสาได้ประดิษฐ์แจกันจากขวดน้ำที่เหลือใช้ น้องสาทำซ้ำๆกันจนเกิดความชำนาญ น้องสาจัดอยู่ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก. กฎการฝึกหัด
ข. กฎความพอใจ
ค. กฎความพร้อม
ง. กฎการได้ใช้
3.นกได้เรียนวิธีการกำจัดศัตรูพืชแต่เขาไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันจึงให้เกิดการหลงลืม การกระทำดังกล่าวจัดอยู่ในการกระทำข้อใด
ก. กฎการไม่ได้ใช้
ข. กฎความพอใจ
ค. กฎความพร้อม
ง. กฎการได้ใช้
4.คุณพ่อซื้อของเล่นให้กับลินแต่ฟ้าแย่งของเล่นของลิน จึงทำให้ลินโมโหและโกรธฟ้ามาก พฤติกรรมนี้จัดเป็นกฎในข้อใด
ก. พอใจ
ข. ไม่พอใจ
ค. ปล่อยวาง
ง. ไม่มีข้อใดผิด
5.แมวอ่านหนังสือก่อนสอบสองเดือนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเมื่อถึงวันประกาศผลแมวได้ผ่านการคัดเลือกเธอจึงดีใจเป็นอย่างมากข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในกฎความพร้อมข้อใด
ก. พอใจ
ข. ไม่พอใจ
ค. ปล่อยวาง
ง. ได้ดั่งใจ
6.อดีตมุกเป็นเด็กที่มีผลการเรียนดีแต่ช่วงหลังมานี้มุกไม่ได้ทบทวนบทเรียนจึงทำให้ผลการเรียนแย่ลงการกระทำของมุกอยู่ในกฎข้อใด
ก. กฎพอใจ
ข. กฎไม่พอใจ
ค. กฎได้ใช้
ง. กฎไม่ได้ใช้
7.ใครใช้กฎการฝึกหัดของธอร์นไดค์
ก. ดาวเป็นคนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่นจึงทำให้คนรอบข้างรักดาว
ข. หญิงฝึกขี่จักรยานทุกวัน จนสามารถไปแข่งขันได้
ค. นิชากล่าวชมและปรบมือ หลังจากที่หนูนิดตอบคำถามที่ครูถามได้
ง. นุชโดนพ่อดุเวลาทำผิด จึงทำให้นิดเป็นเด็กเกเร
8.ซาร่าทบทวนบทเรียนในแต่ละวันที่ครูสอนและอ่านล่วงหน้าในเรื่องที่ครูยังไม่ได้สอน  เธอจึงสอบได้ที่ 1 ของห้องมาตลอด ซาร่าอยู่ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก. กฎแห่งความพร้อม
ข. กฎของการฝึกหัด
ค. กฎแห่งความเป็นผล
ง. กฎแห่งการไม่ใช่
9. บุคคลใดต่อไปนี้ปฏิบัติตนตรงตามกฎของธอร์นไดค์ถูกต้องที่สุด
ก. นัดจดทุกคำพูดของอาจารย์เพราะคิดว่าสิ่งที่อาจารย์พูดถูกต้องที่สุด
ข. จี๊ดนั่งสมาธิก่อนนำเสนองานในทุกๆครั้ง ทำให้เธอมีความมั่นใจและทำออกมาได้ดี
ค. นานาชอบไปโรงเรียนเพราะครูที่โรงเรียนใจดี
ง. ฟลุ๊คจะได้รับรางวัลจากพ่อทุกครั้งที่เขาสอบได้ที่ 1
10. แบงค์เรียนตรีโกนมิติตอนอยู่ชั้นมัธยมปลาย แต่หลังจากที่เขาเข้ามหาวิทยาลัยเขาไม่ได้ทบทวนสิ่งที่เคยเรียนมาจึงทำให้ลืมความรู้นั้นไป จากตัวอย่าง แบงค์อยู่ในกฎข้อใดของธอร์นไดค์
ก. กฎแห่งการฝึกฝน
ข. กฎแห่งความพอใจ
ค. กฎแห่งความพร้อม
ง. กฎแห่งความไม่พอใจ
เฉลยแบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นได์
                 1. ข                      2.
                 3. ก                      4.
                 5. ก                      6.
                 7. ข                      8.
                 9. ข                    10.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น