วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

Albert Bandura

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกตของ Albert Bandura

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบนดูรา

Albert Bandura (1962 - 1986) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory) ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น "ทฤษฎีปัญญาสังคม"
 ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิต ประจำวัน เช่น การออกเสียง การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เป็นต้น
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. ขั้นให้ความสนใจ (Attention Phase) ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอน ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ
2. ขั้นจำ (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
3. ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้
4. ขั้นจูงใจ (Motivation Phase) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement) ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี 3 ประการ คือ
1. กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน

2. การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 3 ประการ ระหว่าง ตัวบุคคล (Person) สิ่งแวดล้อม (Environment) และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน
3. ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้ เช่น ผลของการกระทำ (Consequence) ด้านบวก เมื่อเรียนรู้แล้วจะเกิดการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ผลการกระทำด้านลบ อาจมีการเรียนรู้แต่ไม่มีการเลียนแบบ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
1. ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
2. การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎี ปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว
3. ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรม ที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี
แบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา( Bandara )
1.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเรียนด้วยการสังเกต
ก. เบลมีความใส่ใจที่จะสังเกตตัวแบบและสัญลักษณ์ต่างๆ
ข. บิวบันทึกสิ่งที่สังเกตหรือสิ่งที่รับรู้ไว้ในความทรงจำระยะยาว
ค. ครูให้ชบาแสดงพฤติกรรมโดยตัวแบบ และให้ทำซ้ำ เพื่อให้ชบาจำได้ดี
ง. บัวแสดงพฤติกรรมในการเลียนแบบไม่เหมาะสมจึงถูกคุณครูลงโทษ
2. ข้อใดไม่ใช่การนำทฤษฎีของแบนดูรามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ก. ครูดาวจัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเพื่อจะได้รู้ว่านักเรียนสามารถจะเลียนแบบได้หรือไม่
ข. ครูสมอให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง
ค. ครูให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก
ง. ครูแป้งให้นักเรียนดูการ์ตูน ภาพยนตร์ เพื่อให้ดูตัวอย่างการกระทำที่หลากหลาย
3. แม่รู้ว่าฝ้ายกลัวกระต่าย แม่จึงให้ฝ้ายดูการ์ตูนที่ตัวการ์ตูนจับกระต่ายโดยไม่รู้สึกกลัว จากนั้นแม่จึงเอากระต่ายใส่กรงให้ฝ้ายเล่น แรกๆฝ้ายก็ทำหน้าวิตก จากนั้นก็เริ่มเข้าใกล้กรงจนสุดท้ายฝ้ายจึงให้แม่เปิดกรงแล้วเอากระต่ายมาอุ้ม จากข้อความข้างต้นนี้เป็นการทดลองของใคร
ก. บันดูราและร็อส
ข. บันดูราและเมนลอฟ
ค. บันดูราและพาฟลอฟ
ง. บันดูราและเกสตัน
4. ข้อใดเป็นการทดลองของบันดูราและร็อส
ก. มิกซ์กลัวสุนัข แม่จึงพยายามนำสุนัขมาให้มิกซ์เล่น
ข. มุกเห็นแม่ชอบนุ่งกระโปรงสั้น มุกจึงชอบนุ่งกระโปรงสั้นๆตามแม่
ค. มิวรู้ว่าการทุจริตในการสอบต้องทำอย่างไร จึงจะไม่ถูกจับได้ แต่มิวเลือกที่จะไม่ทำ
ง. เมย์เห็นโมเอาน้ำสาดใส่เพื่อน เมย์จึงทำตามพฤติกรรมของโม โดยการเอาน้ำสาดใส่เพื่อนเช่นกัน
5. ข้อใดเป็นการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ก. ครูสวยเปิดวิดีโอเต้นพร้อมอธิบายการเต้นที่สวยงามแล้วให้นักเรียนเต้น   ตามวิดีโอ จากนั้นจึงไปประกวดในงานของโรงเรียน
ข. ครูหมีให้เด็กๆดูการ์ตูน แล้วให้เด็กๆอธิบายเรื่องราวของการ์ตูน
ค. ครูจุให้เด็กๆกลับไปสังเกตสิ่งแวดล้อมใกล้บ้าน แล้วมาเล่าให้เพื่อนฟัง
ง. ครูจ๋าปล่อยให้เด็กๆอยู่กันตามลำพังในห้องแล้วครูจ๋าจะออกไปสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆจากกล้องที่ติดไว้
6. ตอนเด็กๆส้มส้มมักจะเห็นแม่ทาลิปสติกสีแดงเสมอ เมื่อโตขึ้น ส้มส้มเริ่มแต่งตัวเก่งแล้วส้มส้มมักจะทาปากด้วยลิปสติกสีแดงเพราะคิดว่าจะได้สวยเหมือนแม่ กระบวนการนี้เรียกว่าอะไร
ก. กระบวนการจดจำ
ข. กระบวนการความใส่ใจ
ค. กระบวนการจูงใจ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
7.ข้อใดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกตของกระบวนการจดจำ
ก. คุณครูสอนนีน่าเต้นและนีน่าสามารถทำตามครูได้
ข. มะลิไปเซเว่นแล้วเห็นช็อกโกแลต มะลิจำได้ว่าบอมชอบกินช็อกโกแลตเลยซื้อไปฝาก
ค. ปกติซาร่า ผูกเชือกรองไม่เป็น แต่วันนี้ซาร่าสามารถผูกเชือกรองเท้าได้ เพราะวันก่อนซาร่าสังเกตพี่ขายรองเท้า
ง. ถูกทุกข้อ
8. คุณครูเห็นมีล่าขยันทำความสะอาดห้องเรียนทุกวัน ครูจึงให้รางวัลในความขยันของมิล่าและทำให้เพื่อนอยากทำความสะอาดมากขึ้น ประโยคนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกตของกระบวนการใด
ก. กระบวนการความเอาใจใส่
ข. กระบวนการจดจำ
ค. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง
ง. กระบวนการจูงใจ
9. ข้อใดเป็นแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ของบันดูร่า
ก. หมวยชอบดูการ์ตูนการต่อสู้ ทำให้ต้อมมีนิสัยก้าวร้าวชอบใช้กำลัง
ข. มีมี่นั่งดูเพื่อนๆเล่นกระโดดเชือก แต่มีมี่ไม่เล่นเพราะมีมี่ไม่ชอบกระโดดเชือก
ค. เหมยตื่นเช้าทุกวันเพราะแม่ตั้งนาฬิกาปลุกให้
ง. แม่มักจะบอกอามานีแปรงฟันก่อนนอนเสมอ หากวันใดที่แม่ไม่บอกอามานีก็มักจะทำเป็นลืม
10  ตัสนีมเป็นเด็กที่ไม่ชอบกินผัก แม่เลยให้ดูการ์ตูนเกี่ยวกับประโยชน์ของผักทุกๆวัน แต่ตัสนีมก็ยังไม่ชอบกินผักอยู่ดี
ก. พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ข. พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
ค. พฤติกรรมที่แสดงออกทางการกระทำ
ง. ผิดทุกข้อ
เฉลยแบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ของบันดูร่า
                 1. ง                       2.
                 3. ข                      4.
                 5. ก                      6.
                 7. ค                      8.
              9. ก                    10.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น