วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

เพียเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักจิตวิทยาเพียเจต์


 ประวัติของเพียเจต์
 จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 - 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์
ปัญญา 
 ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของ
นักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์ (Piaget)
 เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศ
สวิสเซอร์แลนด์ 
 เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ
อย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้
           ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อย
อีก 2 ขั้นคือ
    1. ขั้นก่อนเกิดสังกัปเป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
    2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-
ปี
1.3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
 1.4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
 เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
1.  นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันนักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences)
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ 
เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
- เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
-ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities)
แบบทดสอบทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์

1.  ฟารุกเริ่มสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆแสดงว่าฟารุกอยู่ในช่วงใด
ก.      ประถมศึกษา                       ข.      มัธยมต้น
ค.      มัธยมปลาย                          ง.       ชั้นอนุบาล
2.  ฟาตินไม่สามารถเรียงสิ่งของจากสิ่งที่ใหญ่กว่าไปถึงสิ่งที่เล็กกว่า ฟาตินจัดอยู่ในช่วงใด
ก.      ประถมศึกษา                        ข.      ประถมต้น 
ค.   อนุบาล                                   ง.   ข และ ค ถูก
3.  นภัสสามารถแยกแยะว่าสิ่งใดมีลักษณะใหญ่กว่าหรือเล็กกว่านภัสจัดอยู่ในช่วงใด
ก.      ประถมศึกษา                          ค.  มัธยมต้น
ข.      มัธยมปลาย                             ง.   อนุบาล
4.  เด็กในขั้นใดมักจะทำอะไรซ้ำๆบ่อยๆ
ก.      ขั้นปฏิบัติการคิด                        
ข.      ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
ค.      ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
ง.       ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
5.  ทารกกัดและเขย่าของเล่น แสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์เดิม ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอะไร
ก.      การซึมซับหรือดูดซึมประสบการณ์  
ข.       การปรับเปลี่ยน
ค.        การถดถอย               
ง.         การแสดงพฤติกรรม
6. แม่ให้แม่เหล็กแก่เด็กหญิงบีตอนแรกเด็กหญิงบี กัดและเขย่าพอไม่นานเด็กหญิงบีปรับความเข้าใจเดิมที่มีต่อเหล็กแท่งนั้นว่าไม่ใช่ไว้ดูดกัดหรือโยนเล่น เธอเลยเอาแม่เหล็กแท่งนั้นไปดูดสิ่งของต่างๆพฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่าอะไร
ก. การซึมซับหรือดูดซึมประสบการณ์    
ข. การปรับเปลี่ยน
ค. การถดถอย                
ง. การแสดงพฤติกรรม

7.ฮานานีเลียนแบบคุณครู เวลาอยู่บ้านจะสอนน้องโดยให้ตัวเองเป็นครู น้องเป็นนักเรียน พฤติกรรม
เช่นนี้จัดอยู่ในช่วงอายุใด
ก.      แรกเกิด-2ปี                            ข.      2-7 ปี
ค.      7- 11 ปี                                   ง.       11-15 ปี
8.  เด็กจะเริ่มฟังมากกว่าได้ยิน และจะมองมากกว่าเห็น มักจะแสดงพฤติกรรมง่ายๆและทำซ้ำๆกัน
โดยไม่เบื่อ เช่น กำมือเข้าและเปิดออกซ้ำๆกัน เรียกขั้นนี้ว่าขั้นอะไร
ก. ขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวด้านประสบการณ์เบื้องต้น
ข. ขั้นพัฒนาการประสานอวัยวะ
ค. ขั้นพัฒนาเคลื่อนไหวโดยมีจุดมุ่งหมาย      
ง. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน

9.  ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับเด็กระดับประถมปลายได้ถูกต้องที่สุด
ก. แนนนี่มักคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นและใช้ภาษาติดต่อสื่อสารได้
ข. นนนี่สามารถคิดถึงองค์ประกอบต่างๆได้
ค. รินนี่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆได้โดยการใช้สัญลักษณ์
ง.  มันนี่มักยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
10.  มาลีสามารถคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบระเบียบและมักคิดเหนือไปกว่าสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน ถือว่า
มาลีจัดอยู่ในขั้นใด
. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว    
ข. ขั้นปฏิบัติการคิด
ค. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม      
ง. การปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
เฉลยแบบทดสอบทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์
      1. ข                2. ง                     
      3. ก                4.
      5. ก                6.
      7. ข                8.
      9. ก              10.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น