วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)




ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอน บีวัตสัน

 จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)
         เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 18781958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาและถือว่าเขาเป็นผู้นำแห่งกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข
หลักการเรียนรู้ของวัตสัน
           ซึ่งเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือการใช้สิ่งเร้าสองสิ่งคู่กัน สิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการ คือ การเรียนรู้นั่นเองและการที่จะทราบว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้ผลหรือไม่ ก็คือการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองเหมือนเดิมที่ยังมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขอยู่แสดงว่าการวางเงื่อนไขได้ผล
           สิ่งที่เพิ่มเติมในหลักการเรียนรู้ของวัตสัน คือแทนที่จะทดลองกับสัตว์ เขากลับใช้การทดลองกับคน เพื่อทดลองกับคน ก็มักจะมีอารมณ์มากเกี่ยวข้อง วัตสันกล่าวว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อารมณ์กลัวมีผลต่อสิ่งเร้าบางอย่างตามธรรมชาติอยู่แล้ว อาจจะทำให้กลัวสิ่งเร้าอื่นที่มีอยู่รอบ ๆ ต่างกายอีกได้จากการเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยให้สิ่งเร้าที่มีความกลัวตามธรรมชาติ เป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) กับสิ่งเร้าอื่นที่ต้องการให้เกิดความกลัว เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาคู่กันบ่อย ๆ เข้าในที่สุดก็จะเกิดความกลัวในสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขได้ และเมื่อทำให้เกิพฤติกรรมใดได้ วัตสันเชื่อว่าสามารถลบพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

การทดลอง
          การทดลองของวัตสัน วัตสันได้ร่วมกับเรย์เนอร์ (Watson and Rayner 1920) ได้ทดลองวางเงื่อนไขเด็กอายุ 11 เดือน ด้วยการนำเอาหนูตะเภาสีขาวเสนอให้เด็กดูคู่กับการทำเสียงดัง เด็กตกใจจนร้องไห้ เมื่อนำเอาหนูตะเภาสีขาวไปคู่กับเสียงดังเพียงไม่กี่ครั้ง เด็กก็เกิดความกลัวหนูตะเภาสีขาว และกลัวสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาหรือมีลักษณะสีขาว เช่น กระต่าย สุนัข เสื้อขนสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่คลายคลึงกัน ความคล้ายคลึงกันทำให้กรริยาสะท้อนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้ามากขึ้นเด็กที่เคยกลัวหมอฟันใส่เสื้อสีขาว ก็จะกลัวหมอคนอื่นที่แต่งตัวคล้ายกันความคล้ายคลึงกันก็สามารถทำให้ลดลง โดยการจำแนกได้เช่นเดียวกัน เช่นถ้าหากต้องการให้เด็กกลัวเฉพาะอย่าง ก็ไม่เสนอสิ่งเร้าทั้งสองอย่างพร้อมกัน แต่เสนอสิ่งเร้าทีละอย่างโดยให้สิ่งเร้านั้นเกิดความรู้สึกในทางผ่อนคลายลง
 จากการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
1.  พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2.  เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1.  การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
2.  การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
3.  ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
4.  รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
 5.  ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
6.  เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.  ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน  การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2.  การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3.  การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4.  การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง  o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม

แบทดสอบทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมของ จอห์น บี วัตสัน
1. จากการทดลองสรุปได้ว่าการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเขื่อนไขกับสิ่งเร้าตามธรรมชาตินั้น สามารถที่จะควบคุมให้เกิดสิ่งใดขึ้น?
ก. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ข. พฤติกรรม
ค. ความกลัว
ง. การเรียนรู้ที่จะตอบสนองสิ่งเร้า
2. พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งใด
ก. สิ่งเร้า
ข. สิ่งที่สนใจ
ค. สิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์
ง. สิ่งแวดล้อม
3. สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขใหม่ (UCS) ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม เป็นการวางเงื่อนไขแบบใด
ก. การวางเงื่อนไขให้กลัว
ข.  การวางเงื่อนไขกลับ
ค. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ง. การวางเงื่อนไขแบบการตอบสนอง
4. วัตสันได้ร่วมกับการทดลอง กับไคร
. เรย์เนอร์
.จอห์นเรย์
ค.เรแกน
ง.สเปรย์
5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการนำทฤษฎีของวัตสันมาประยุกต์ใช้
ก. การนำหลักการเพิ่มพฤติกรรมมาใช้
ข. การนำหลักการลดพฤติกรรมมาใช้
ค. การนำกฏความคล้ายคลึงกันไปใช้
ง. การนำกฎการจำแนกมาใช้
6. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสันที่ว่า พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. เกิดขึ้นได้ เพราะโดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
ข. เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
ค. เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากเด็กจะเอาอารมณ์ของตนเป็นที่ตั้ง
ง. ก และ ข ถูกต้อง
7. วันหนึ่งขณะที่หนูน้อยนั่งเล่นอยู่ มีหนูขาววิ่งเขามาหนูน้อยก็นั่งเล่นโดยที่ไม่กลัวหนูขาวเลย วันต่อมาหนูน้อยนั่งเล่นอยู่ที่เดิมแล้วหนูขาวก็วิ่งเข้ามา ในขณะที่หนูขาววิ่งเข้ามานั้นพ่อของหนูน้อยก็ได้นำค้อนไปเคาะที่กระเบื้องข้างบ้านเกิดเสียงดัง ทำให้หนูน้อยตกใจแล้วเกิดความกลัว ความกลัวที่กล่าวมาข้างต้น เรียกอีกอย่างว่าอะไร
            ก.UCS                   ข.CR                   ค.UCR                  ง.CS
8. วัตสัน ใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันแล้วทำให้เกิด การตอบสนองอย่างเดียวกัน สิ่งเร้าสองสิ่งคืออะไร       
ก. สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับ สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR)
ข. สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับ  ความกลัว (CR)
ค. ความกลัว (CR) กับ การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR)
ง. สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) กับ การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR)
9. ข้อใดคล้ายคลึงกับการทดลองของวัตสันมากที่สุด
ก. จอยอยากให้สนุขเดินได้จึงให้อาหารสุนัขโดยการแขวน
ข. อายสั่นกระดิ่งก่อนให้อาหารปลาทุกครั้งเพื่อเป็นสัญญาน
ค. ปิงเป่านกหวีดทุกครั้งเมื่อมีคนเดินเข้าใกล้กรงเสือ
ง. แอลฟาชอบเล่นกระต่าย แม่ไม่อยากให้แอลฟาเล่นกระต่ายจึงเปิดวีดีโอผีกระต่ายให้แอลฟาดูบ่อยๆ แอลฟากลัวมากและไม่อยากเล่นกระต่ายอีกเลย
10. แนวคิดของบุคลใดตรงกับแนวคิดของวัตสันมากที่สุด
ก. เจนเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมคือตัวกำหนดพฤติกรรมของเด็ก
ข. นานาเชื่อว่าเขาสามารถสร้างให้เด็กเป็นอะไรก็ได้โดยการวางเงื่อนไข
ค. อิงเชื่อว่าการวางเงื่อนไขต้องดูจากภูมิฐานของเด็ก
ง. ซาร่าเชื่อว่าเด็กคือผ้าขาวที่ผู้ใหญ่จะแต่งเติมอย่างไรก็ได้

เฉลยแบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน
                 1. ข                     2.
                 3. ข                     4.
                 5. ก                     6.
                 7. ข                     8.
                 9. ง                    10.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น